Yan Architech

Category Uncategorized

REVIVING AN OLD BUILDING INTO A TIMELESS HOUSE

REVIVING AN OLD BUILDING INTO A TIMELESS HOUSE เมื่อสารจาก Frank Lloyd Wright สถาปนิกคนสำคัญในศตวรรษที่ 20 ส่งมาถึงสถาปนิกยุคใหม่“An idea is salvation by imagination.”เราอยู่ในศตวรรษที่จินตนาการของสถาปนิกเข้ามามีบทบาทต่อเมืองไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของการตอบโจทย์ต่อ Lifestyle และการแข่งขัน ผู้คนเริ่มรับรู้ว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมคือการจัดสรรความคุ้มค่ามากกว่าเป็นเพียงนิยามเรื่องความงาม ส่วนการรีโนเวทอาคารก็ไม่ใช่แค่เรื่องของ Saving Cost อีกต่อไปเช่นกัน‘Renovation’ เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ คนคงเคยผ่านตาบทความที่เล่าเกี่ยวกับการปรับโฉมอาคารเก่าที่กำลังนิยมกันมากในช่วงนี้ แต่ก็คงเห็นได้ถึงกรอบข้อจำกัดของการปรับรูปโฉมนี้ว่าขึ้นอยู่กับเค้าโครงเดิมของอาคารเก่านั้นด้วยแต่ในบทความนี้ เราจะพาผู้อ่านร่วมจินตนาการไปให้ไกลกว่านี้เพื่อทะลายกรอบข้อจำกัดดังกล่าวแต่ก่อนอื่น เราอยากให้ผู้อ่านเข้าใจบทบาทของสถาปนิกในอีกมุมจาก ‘ย่านสถาปนิก’ ก่อนที่จะพากันไปเห็นจินตภาพต่างๆจากประสบการณ์ของเรา มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมให้งดงาม ซึ่งไม่ถือว่าผิดอะไร หากแต่ยังไม่ครอบคลุมกับสิ่งที่เราชาวสถาปนิกทำกันจริงๆว่าด้วยเรื่องของจิตนาการ เราขอพาผู้อ่านมาสมมุตว่า ถ้าสถาปนิกเป็น…

BAAN LAE SUAN FAIR 2017

BAAN LAE SUAN FAIR 2017 บ้านและสวนแฟร์ 2017 สิ้นสุดลงแล้วนะครับ “ย่านสถาปนิก” ขอขอบคุณผู้เยี่ยมชมทุกท่านที่ให้ความสนใจผลงานการออกแบบของเราเป็นอย่างมาก ทุกการต้อนรับและทุกความชื่นชอบเกินกว่าที่เราคาดหวังไว้ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกำลังใจที่ดีให้เราได้สร้างสรรและพัฒนาผลงานของเราต่อไปครับ  ขอบคุณน้องๆ นักศึกษาฝึกงาน ที่มีส่วนร่วมและตั้งใจในการแสดงผลงานครั้งนี้1. น้องโบ2. น้องพี3. น้องมิก4. น้องบูม5. น้องเบลล์6. น้องปิงปอง7. น้องแบ้งค์8. น้องแก้ม9. น้องโก้10. น้องต้น11. น้องเบิ้ล ขอบคุณพี่หน่อย N9 Create สำหรับการช่วยเหลืออุปกรณ์และการขนย้ายครับ พบกันใหม่ปีหน้าครับ… 

ย่าน X บ้านและสวน เปิดประตูสู่โลกดีไซน์

ย่าน X บ้านและสวน เปิดประตูสู่โลกดีไซน์ “หากสถาปัตยกรรมเปรียบเสมือนการเดินทางอย่างหนึ่ง สถาปนิกก็คงเป็นผู้วางแผนเส้นทาง” คุณทวีศักดิ์  วัฒนาวารีกุล กรรมการผู้จัดการ YAN Architects หรือย่านสถาปนิก หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า คุณทะ กับแนวความคิดและนิยามของคำว่า ’สถาปนิก’ ของคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับมุมมองของงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2020 ที่พึ่งจบลงไป ว่าแท้ที่จริงแล้วงานแฟร์ขนาดใหญ่ที่ช่วยเปิดพื้นที่ให้กับนักออกแบบนี้ สามารถทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักกับงานสถาปนิกได้จริงหรือ ?  มุมมองของสถาปนิกต่องานบ้านและสวน นอกจากการเดินชมพืชพรรณสวยๆ จากงานแฟร์ครั้งนี้ สำหรับคุณทะในฐานะที่เป็นสถาปนิกคนหนึ่ง มองว่างานบ้านและสวนทำให้ใครหลายคนที่กำลังมีความต้องการจะเริ่มปลูกบ้านสักหลัง ได้มีโอกาสมาอัพเดตนวัตกรรม วัสดุ งานออกแบบ และข้อมูลใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะสำหรับหลายๆ คน โดยเฉพาะคนที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มแรกของโปรเจค มักจะสับสนกับกระบวนการโดยไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี…

เฮือนใหม่ ยะ ไทย ให้ MODERN

เฮือนใหม่ ยะ ไทย ให้ MODERN โครงการบ้านพักอาศัย ‘เฮือนใหม่’บ้านพักอาศัย 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 490 ตร.ม.ที่ตั้งโครงการ: อําาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่โดยปกติแล้ว การเริ่มออกแบบสถาปัตยกรรม เรามักจะเริ่มจากการหาแรงบันดาลใจเจ๋งๆ ‘เพิ่ม’ เข้ามา แต่ โครงการนี้เราทําในทิศทางที่ต่างออกไป คือ ‘ตัด’ เราเริ่มจากการตัดวิธีเดิมๆ ที่เราเคยเห็นในงานออกแบบบ้าน ไทยร่วมสมัย ซึ่งเป็นวิธีการ Copy & Paste องค์ประกอบที่เห็นชัดที่สุดมาใส่ในผลงานไทยร่วมสมัย อาทิ ลาย ผนังฝาปะกนและหลังคาทรงจั่ว มาแปะบน Modern Architecture ซึ่งอาจจะดูฉาบฉวยไปหน่อยสําหรับการประกาศว่านี่คือบ้านไทยสมัยใหม่เราไม่ได้มองว่าวิธีข้างต้นเป็นวิธีที่ไม่ถูกไปเสียทีเดียว ทุกมุมมองและทุกวิธีคิดล้วนให้คุณค่าในรูปแบบของมัน แต่เรากําลังตั้งคําาถามที่จะต่อยอดงานออกแบบของเราเองว่าจะดีกว่ามั้ยถ้าเราหาอัตลักษณ์ของ ‘บ้าน/เรือน/ เฮือน’ ได้Deep กว่าวิธี Copy & Paste นี้ และอาจแปลงสิ่งที่หาได้นั้นให้เข้ากับงาน Modern ได้อย่างแยบยลยิ่งขึ้น ทําไมต้อง Deep หล่ะ !?สถาปัตยกรรมทุกยุคสมัยล้วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนอยู่ หากคนมีวิถีการอยู่ที่เปลี่ยนไป รูปแบบของสถาปัตยกรรมก็ควรได้รับการพัฒนาเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้นการนําอัตลักษณ์จากอดีตมาใช้จึงควรเข้าใจวิถีของคนแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกันไปด้วย หากจะอ้างอิงให้ทุกท่านให้เห็นภาพร่วมกันก็จะขอยกตัวอย่าง ‘ลวดลายฝาปะกน’ ของเรือนไทยภาคกลาง แสดงถึงภูมิปัญญาช่างไทยที่คิดค้นวิธีการนําไม้ชิ้นเล็กๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นผนังบ้านด้วยวิธีการเซาะร่องและ สอดยึดกันอย่างเป็นระบบ ผนังแต่ละด้านนํามาประกอบเข้ากับโครงสร้างตัวเรือน ยึดติดด้วยเดือยไม้และถอด ประกอบได้เป็นชิ้นส่วน ซึ่งสะดวกต่อการปลูกสร้างแและขนย้าย หากแต่นวัตกรรมของการก่อสร้างของยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปเราก็ไม่จําาเป็นต้องนําฝาปะกนมาใช้กับบ้านยุคปัจจุบันอีกแล้ว เว้นแต่จะเสพเพียงรูปแบบของลวดลาย ซึ่งเราจะไม่เลือกวิธีนี้มาเป็นแกนแนวคิดหลักในการออกแบบเพื่อถ่ายทอดอัตลักษณ์ของ ‘เฮือนใหม่’ หลังนี้หลังจากเราสิ้นคําถาม Deep Deep ขั้นตอนการถอดรหัสเรือนวิถีไทยก็เริ่มขึ้นเราเริ่มจากการแยกวิเคราะห์เรือนไทยดั้งเดิมเป็นส่วนๆ เช่น Materials, Construction Details, Structure,Proportion, Space, Function, Ventilation, Lighting ฯลฯ เหล่านี้ล้วนประกอบกันจนเกิด เป็นอัตลักษณ์ของเรือนไทยในแต่ละภูมิภาค สําหรับ ‘เฮือนใหม่’ เราไม่ได้มีเจตนาที่อยากจะใช้รูปลักษณ์ของเรือนภาคเหนือเช่นการเป็นเรือนแฝดหรือการมีหลังคาทรงจั่วเตี้ยมาใช้เป็นแก่นของงานดีไซน์ หากแต่ต้องการนําเสนอความเป็น Modern Design เพื่อสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ 60% ที่เหลือเป็นแรงบันดาลใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เราประยุกต์มาแล้ว โดยคิดเป็น35% สําาหรับ User Experience และ 5% สําาหรับ Visual Aestheticsหากจะแจกแจงลงไปอีก 40% ของแรงบันดานใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เราเลือก คือ Family Space, Ventilation, Indirect Lighting, WoodMaterial, Construction DetailFamily Space ถ้าบอกว่าคือ ‘ชานบ้าน’ คงเป็นที่รู้จักกันดี เราชอบในส่วนของการใช้ประโยชน์บนพื้นที่แบบนี้ ซึ่งแต่เดิมเคยใช้เป็นจุดที่เชื่อมระหว่างเรือนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน แต่เราสนใจในส่วนของการใช้ประโยชน์ในเชิงเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจแบบ Semi Outdoor มากกว่า ซึ่งทุกคนในครอบครัวสามารถใช้ Space ขนาดใหญ่นี้ร่วมกันได้ และเราปรับตําาแหน่งจากชานกลางบ้านของเรือนไทยเดิม ให้เป็นชานที่หันไปทางวิวภูเขาแทนซึ่งผู้ออกแบบหวังอยากให้ผู้อยู่ได้แย่งกันมาใช้ตากลมบนเขาสบายๆ และชื่นชมความ Impact ของทิวเขาไป พร้อมๆกันVentilation อันที่จริงเป็นโจทย์สุดฮิตจากเจ้าของบ้านหลายๆ หลังของ ‘ย่านสถาปนิก’ ด้วยซ้ำ อาจจะเพราะว่าบ้านเมืองเรามีอากาศแบบร้อนชื้น ไม่ได้สบายตัวนัก ความโล่ง+โปร่ง+สบาย จึงเป็นอีกปัจจัยที่สําคัญ สําหรับเรือนไทยดั้งเดิม การแยกเรือนเป็นหลังย่อยๆ แล้วเชื่อมด้วยชานบ้าน ได้ช่วยให้ลมถ่ายเทไปสู่เรือนทุกหลังได้ค่อนข้างดี เราจึงใช้ไอเดียนี้แบ่ง Function ของ ‘เฮือนใหม่’ ออกเป็นเรือนย่อยๆ 3 เรือน ทําให้บ้านแทบทุกส่วนมีการถ่ายเทอากาศได้อย่างเต็มที่สอดคล้องกับสภาวะน่าสบายตัวที่เจ้าของบ้านต้องการIndirect Lighting อยากเปิดบ้านรับลม มีแสงบ้าง แต่ไม่อยากได้แดดแรงๆ ‘แสงสะท้อน’ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการรับแดดตรงๆ ของเรือนไทยดั้งเดิม โดยเฉพาะในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องแดดอยู่แล้ว นอกจากความสว่างเรายังสามารถได้ความรู้สึกของ Aesthetic Lighting ที่ซอฟท์ละมุนและสร้างบรรยากาศแก่ตัวบ้านได้ สถาปนิก จึงคิดวิธีการออกแบบหลังคาและฝ้าเพดาน Modern ผืนใหญ่ ให้แยกเหลือมกันเป็นชั้นๆ เพื่อนําแสงธรรมชาติ เข้ามาภายในอาคารช่วงกลางวัน และซ่อนหลืบไฟส่องสว่างเหนือฝ้าเพดานยามค่ำคืน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ สุนทรีย์แก่ Interior SpaceWood Material เชื่อว่าหลายท่านทราบอยู่แล้วว่าเรือนไทยดั้งเดิมใช้ไม้เป็นองค์ประกอบหลักกว่า 90% เลยทีเดียวเพราะเป็นวัสดุสร้างบ้านที่หาง่ายของคนยุคก่อน แน่นอนว่าในปั จจุบันทรัพยากรบนโลกของเราเปลี่ยนไปและเกิดวัสดุก่อสร้างทดแทนมากมาย แต่สถาปนิกเองยังคงรู้สึกถึง Warm Feeling ของไม้ เราจึงยังคงใช้ไม้ มาเป็นวัสดุหลักแก่พื้นผิวอาคารในหลายๆ ส่วนของ ‘เฮือนใหม่’ เพื่อให้ผู้อยู่ได้รู้สึก Retreat เมื่อได้กลับมาอยู่บ้าน Construction Detail ดังที่เกริ่นไปข้างต้นว่า บางทีวิธีที่ฉาบฉวยก็ยังมีคุณค่าของมันอยู่ ในท้ายที่สุดของงานออกแบบ สถาปนิกอยากสะท้อนกลิ่นอายของเรือนไทยจากการนําาเอาดีเทลการเข้าลิ้นของโครงสร้างไม้ แปลง มาเป็นดีเทลตกแต่งอาคารบางส่วนแทน ทําาให้เกิด Pattern Design ใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาอีกสิ่งหนึ่งแทนที่จะเป็น ลวดลายดั ้งเดิมโดยตรงการหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ของสถาปนิก เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่งานออกแบบในหลายๆ มิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในวงการ Architectural Design แต่สิ่งสําคัญที่สุดที่สถาปนิกไม่อาจลืมได้ในงานออกแบบบ้าน หรือเรือน หรือเฮือน คือ ‘ความเข้าใจผู้อยู่’Content:Thaweesak Watthanawareekun(Founder of Yan Architects) 

BAANLAESUAN FAIR MIDYEAR 2019 I BITEC BANGNA

BAANLAESUAN FAIR MIDYEAR 2019 I BITEC BANGNA ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ บูธย่านสถาปนิก ที่งานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2019 BITEC บางนาแล้วพบกับเราอีกครั้งที่งานบ้านและสวนแฟร์ 2019 : Living Transformed 18 – 27 ต.ค. 62 อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี ครับ ; )—–www.yan.co.thInstagram : yan_architectsTel. 029555616, 0864444632Architecture design & Interior design#architects #architecture #interiordesign #yanarchitects #บ้านและสวนแฟร์ 

BULL GALLERY – WORK IN PROGESS

BULL GALLERY – WORK IN PROGESS BULL GALLERY – WORK IN PROGESSUnder ConstructionProject : Bull GalleryArchitect: Yan Architects I ย่านสถาปนิกLocation : Nakornpathom , ThailandArea : 400 Sq.m

SB I 52 WEEKS OF DESIGN I THAWEESAK WATTHANAWAREEKUN

SB I 52 WEEKS OF DESIGN I THAWEESAK WATTHANAWAREEKUN ABOUT HIM “การออกแบบสถาปัตยกรรมไม่ว่าจะเป็นภายในหรือตัวอาคาร ผมว่ามันคือเรื่องของไลฟ์สไตล์ เรื่องของการใช้ชีวิต ถ้าเราออกแบบอะไรที่มันไม่เหมาะกับวิถีของผู้อยู่อาศัย…นั่นคือพังเลย เป็นดีไซน์ที่ใช้ไม่ได้!!” ไปพูดคุยและทำความรู้จักกันให้มากขึ้นกับ  คุณทวีศักดิ์  วัฒนาวารีกุล กรรมการผู้จัดการ YAN Architects หรือ ย่านสถาปนิก “มีแต่คนถามว่าทำไมชื่อ ย่านสถาปนิก…ผมก็รู้สึกว่าเราเป็นสถาปนิกไทย ก็อยากได้ชื่อไทยๆ และคำว่า ย่าน ก็ฟังดูไทยมาก เป็นคำคุ้นหู เหมือนเป็นแหล่งรวมสถาปนิกและดีไซน์เนอร์ ก็เลยเอามาตั้งเป็นชื่อบริษัทครับ  จริงๆ ผมก็ทำงานหลากหลายรูปแบบ เคยออกแบบโชว์รูมรถยนตร์ ออฟฟิศ ร้านค้า โรงแรม รีสอร์ท แต่งานออกแบบที่เป็นสัดส่วนหลักของย่านสถาปนิก คือ งานประเภทที่พักอาศัยครับ…

INTERNATIONAL PROPERTY & TRAVEL VOLUME

INTERNATIONAL PROPERTY & TRAVEL VOLUME Our Sathorn Residence project is published on the International Property & Travel Volume 27 No.1, International Property & Travel magazine. You can check it out! Thank you.  https://issuu.com/intprop/docs/v28n1-digital…

THE INTERNATIONAL PROPERTY AWARDS 2021

THE INTERNATIONAL PROPERTY AWARDS 2021 ย่านสถาปนิก (Yan Architects)โครงการ Minburi Residence ของเราได้รับรางวัล…WINNER  ARCHITECTURE SINGLE RESIDENCE(จาก Asia Pacific Property Awrads ปี 2021-2022)รางวัลนี้จะเป็นทั้งความภูมิใจและกำลังใจให้เราชาว ย่าน สรรสร้างผลงานดีดีออกสู่สังคมต่อไปขอบคุณทุกท่านที่ให้ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนที่ดีตลอดมาครับ

BAANLAESUAN FAIR MIDYEAR 2020 I BITEC BANGNA

BAANLAESUAN FAIR MIDYEAR 2020 I BITEC BANGNA บ้านและสวนแฟร์ 2020 !ทีมงาน ย่านสถาปนิก ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจผลงานสร้างสรรค์ของเราเป็นอย่างดีเสมอมา พบกันใหม่ปีหน้าครับ  )