
เฮือนใหม่ ยะ ไทย ให้ MODERN
โครงการบ้านพักอาศัย ‘เฮือนใหม่’
บ้านพักอาศัย 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 490 ตร.ม.
ที่ตั้งโครงการ: อําาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
บ้านพักอาศัย 1 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 490 ตร.ม.
ที่ตั้งโครงการ: อําาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
โดยปกติแล้ว การเริ่มออกแบบสถาปัตยกรรม เรามักจะเริ่มจากการหาแรงบันดาลใจเจ๋งๆ ‘เพิ่ม’ เข้ามา แต่ โครงการ
นี้เราทําในทิศทางที่ต่างออกไป คือ ‘ตัด’ เราเริ่มจากการตัดวิธีเดิมๆ ที่เราเคยเห็นในงานออกแบบบ้าน ไทยร่วม
สมัย ซึ่งเป็นวิธีการ Copy & Paste องค์ประกอบที่เห็นชัดที่สุดมาใส่ในผลงานไทยร่วมสมัย อาทิ ลาย ผนังฝา
ปะกนและหลังคาทรงจั่ว มาแปะบน Modern Architecture ซึ่งอาจจะดูฉาบฉวยไปหน่อยสําหรับการประกาศว่านี่
คือบ้านไทยสมัยใหม่
เราไม่ได้มองว่าวิธีข้างต้นเป็นวิธีที่ไม่ถูกไปเสียทีเดียว ทุกมุมมองและทุกวิธีคิดล้วนให้คุณค่าในรูปแบบของมัน แต่เรา
กําลังตั้งคําาถามที่จะต่อยอดงานออกแบบของเราเองว่าจะดีกว่ามั้ยถ้าเราหาอัตลักษณ์ของ ‘บ้าน/เรือน/ เฮือน’ ได้
Deep กว่าวิธี Copy & Paste นี้ และอาจแปลงสิ่งที่หาได้นั้นให้เข้ากับงาน Modern ได้อย่างแยบยลยิ่งขึ้น
ทําไมต้อง Deep หล่ะ !?
สถาปัตยกรรมทุกยุคสมัยล้วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนอยู่ หากคนมีวิถีการอยู่ที่เปลี่ยนไป รูปแบบของ
สถาปัตยกรรมก็ควรได้รับการพัฒนาเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้นการนําอัตลักษณ์จากอดีตมาใช้จึงควรเข้าใจวิถี
ของคนแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกันไปด้วย
หากจะอ้างอิงให้ทุกท่านให้เห็นภาพร่วมกันก็จะขอยกตัวอย่าง ‘ลวดลายฝาปะกน’ ของเรือนไทยภาคกลาง แสดงถึง
ภูมิปัญญาช่างไทยที่คิดค้นวิธีการนําไม้ชิ้นเล็กๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นผนังบ้านด้วยวิธีการเซาะร่องและ สอดยึดกัน
อย่างเป็นระบบ ผนังแต่ละด้านนํามาประกอบเข้ากับโครงสร้างตัวเรือน ยึดติดด้วยเดือยไม้และถอด ประกอบได้เป็น
ชิ้นส่วน ซึ่งสะดวกต่อการปลูกสร้างแและขนย้าย หากแต่นวัตกรรมของการก่อสร้างของยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
เราก็ไม่จําาเป็นต้องนําฝาปะกนมาใช้กับบ้านยุคปัจจุบันอีกแล้ว เว้นแต่จะเสพเพียงรูปแบบของลวดลาย ซึ่งเราจะไม่
เลือกวิธีนี้มาเป็นแกนแนวคิดหลักในการออกแบบเพื่อถ่ายทอดอัตลักษณ์ของ ‘เฮือนใหม่’ หลังนี้
หลังจากเราสิ้นคําถาม Deep Deep ขั้นตอนการถอดรหัสเรือนวิถีไทยก็เริ่มขึ้น
เราเริ่มจากการแยกวิเคราะห์เรือนไทยดั้งเดิมเป็นส่วนๆ เช่น Materials, Construction Details, Structure,
Proportion, Space, Function, Ventilation, Lighting ฯลฯ เหล่านี้ล้วนประกอบกันจนเกิด เป็นอัตลักษณ์ของ
เรือนไทยในแต่ละภูมิภาค
ภูมิปัญญาช่างไทยที่คิดค้นวิธีการนําไม้ชิ้นเล็กๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นผนังบ้านด้วยวิธีการเซาะร่องและ สอดยึดกัน
อย่างเป็นระบบ ผนังแต่ละด้านนํามาประกอบเข้ากับโครงสร้างตัวเรือน ยึดติดด้วยเดือยไม้และถอด ประกอบได้เป็น
ชิ้นส่วน ซึ่งสะดวกต่อการปลูกสร้างแและขนย้าย หากแต่นวัตกรรมของการก่อสร้างของยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
เราก็ไม่จําาเป็นต้องนําฝาปะกนมาใช้กับบ้านยุคปัจจุบันอีกแล้ว เว้นแต่จะเสพเพียงรูปแบบของลวดลาย ซึ่งเราจะไม่
เลือกวิธีนี้มาเป็นแกนแนวคิดหลักในการออกแบบเพื่อถ่ายทอดอัตลักษณ์ของ ‘เฮือนใหม่’ หลังนี้
หลังจากเราสิ้นคําถาม Deep Deep ขั้นตอนการถอดรหัสเรือนวิถีไทยก็เริ่มขึ้น
เราเริ่มจากการแยกวิเคราะห์เรือนไทยดั้งเดิมเป็นส่วนๆ เช่น Materials, Construction Details, Structure,
Proportion, Space, Function, Ventilation, Lighting ฯลฯ เหล่านี้ล้วนประกอบกันจนเกิด เป็นอัตลักษณ์ของ
เรือนไทยในแต่ละภูมิภาค
สําหรับ ‘เฮือนใหม่’ เราไม่ได้มีเจตนาที่อยากจะใช้รูปลักษณ์ของเรือนภาคเหนือเช่นการเป็นเรือนแฝดหรือการมี
หลังคาทรงจั่วเตี้ยมาใช้เป็นแก่นของงานดีไซน์ หากแต่ต้องการนําเสนอความ
เป็น Modern Design เพื่อสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ 60% ที่เหลือ
เป็นแรงบันดาลใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เราประยุกต์มาแล้ว โดยคิดเป็น
35% สําาหรับ User Experience และ 5% สําาหรับ Visual Aesthetics
หากจะแจกแจงลงไปอีก 40% ของแรงบันดานใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เรา
เลือก คือ Family Space, Ventilation, Indirect Lighting, Wood
Material, Construction Detail
หลังคาทรงจั่วเตี้ยมาใช้เป็นแก่นของงานดีไซน์ หากแต่ต้องการนําเสนอความ
เป็น Modern Design เพื่อสอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ 60% ที่เหลือ
เป็นแรงบันดาลใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เราประยุกต์มาแล้ว โดยคิดเป็น
35% สําาหรับ User Experience และ 5% สําาหรับ Visual Aesthetics
หากจะแจกแจงลงไปอีก 40% ของแรงบันดานใจจากเรือนไทยดั้งเดิมที่เรา
เลือก คือ Family Space, Ventilation, Indirect Lighting, Wood
Material, Construction Detail
Family Space ถ้าบอกว่าคือ ‘ชานบ้าน’ คงเป็นที่รู้จักกันดี เราชอบในส่วน
ของการใช้ประโยชน์บนพื้นที่แบบนี้ ซึ่งแต่เดิมเคยใช้เป็นจุดที่เชื่อมระหว่าง
เรือนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน แต่เราสนใจในส่วนของการใช้ประโยชน์ในเชิง
เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจแบบ Semi Outdoor มากกว่า ซึ่งทุกคนใน
ครอบครัวสามารถใช้ Space ขนาดใหญ่นี้ร่วมกันได้ และเราปรับตําาแหน่ง
จากชานกลางบ้านของเรือนไทยเดิม ให้เป็นชานที่หันไปทางวิวภูเขาแทน
ซึ่งผู้ออกแบบหวังอยากให้ผู้อยู่ได้แย่งกันมาใช้ตากลมบนเขาสบายๆ และชื่นชมความ Impact ของทิวเขาไป พร้อมๆกัน
Ventilation อันที่จริงเป็นโจทย์สุดฮิตจากเจ้าของบ้านหลายๆ หลังของ ‘ย่านสถาปนิก’ ด้วยซ้ำ อาจจะเพราะว่า
บ้านเมืองเรามีอากาศแบบร้อนชื้น ไม่ได้สบายตัวนัก ความโล่ง+โปร่ง+สบาย จึงเป็นอีกปัจจัยที่สําคัญ สําหรับ
เรือนไทยดั้งเดิม การแยกเรือนเป็นหลังย่อยๆ แล้วเชื่อมด้วยชานบ้าน ได้ช่วยให้ลมถ่ายเทไปสู่เรือนทุกหลังได้
ค่อนข้างดี เราจึงใช้ไอเดียนี้แบ่ง Function ของ ‘เฮือนใหม่’ ออกเป็นเรือนย่อยๆ 3 เรือน ทําให้บ้านแทบทุกส่วน
มีการถ่ายเทอากาศได้อย่างเต็มที่สอดคล้องกับสภาวะน่าสบายตัวที่เจ้าของบ้านต้องการ
Indirect Lighting อยากเปิดบ้านรับลม มีแสงบ้าง แต่ไม่อยากได้แดดแรงๆ ‘แสงสะท้อน’ จึงเป็นตัวเลือกที่ดี
กว่าการรับแดดตรงๆ ของเรือนไทยดั้งเดิม โดยเฉพาะในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องแดดอยู่แล้ว นอกจากความสว่าง
เรายังสามารถได้ความรู้สึกของ Aesthetic Lighting ที่ซอฟท์ละมุนและสร้างบรรยากาศแก่ตัวบ้านได้ สถาปนิก จึง
คิดวิธีการออกแบบหลังคาและฝ้าเพดาน Modern ผืนใหญ่ ให้แยกเหลือมกันเป็นชั้นๆ เพื่อนําแสงธรรมชาติ เข้า
มาภายในอาคารช่วงกลางวัน และซ่อนหลืบไฟส่องสว่างเหนือฝ้าเพดานยามค่ำคืน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ สุนทรีย์แก่ Interior Space
Wood Material เชื่อว่าหลายท่านทราบอยู่แล้วว่าเรือนไทยดั้งเดิมใช้ไม้เป็นองค์ประกอบหลักกว่า 90% เลยทีเดียว
เพราะเป็นวัสดุสร้างบ้านที่หาง่ายของคนยุคก่อน แน่นอนว่าในปั จจุบันทรัพยากรบนโลกของเราเปลี่ยนไป
และเกิดวัสดุก่อสร้างทดแทนมากมาย แต่สถาปนิกเองยังคงรู้สึกถึง Warm Feeling ของไม้ เราจึงยังคงใช้ไม้ มา
เป็นวัสดุหลักแก่พื้นผิวอาคารในหลายๆ ส่วนของ ‘เฮือนใหม่’ เพื่อให้ผู้อยู่ได้รู้สึก Retreat เมื่อได้กลับมาอยู่บ้าน
และเกิดวัสดุก่อสร้างทดแทนมากมาย แต่สถาปนิกเองยังคงรู้สึกถึง Warm Feeling ของไม้ เราจึงยังคงใช้ไม้ มา
เป็นวัสดุหลักแก่พื้นผิวอาคารในหลายๆ ส่วนของ ‘เฮือนใหม่’ เพื่อให้ผู้อยู่ได้รู้สึก Retreat เมื่อได้กลับมาอยู่บ้าน
Construction Detail ดังที่เกริ่นไปข้างต้นว่า บางทีวิธีที่ฉาบฉวยก็ยังมีคุณค่าของมันอยู่ ในท้ายที่สุดของงาน
ออกแบบ สถาปนิกอยากสะท้อนกลิ่นอายของเรือนไทยจากการนําาเอาดีเทลการเข้าลิ้นของโครงสร้างไม้ แปลง มา
เป็นดีเทลตกแต่งอาคารบางส่วนแทน ทําาให้เกิด Pattern Design ใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาอีกสิ่งหนึ่ง
แทนที่จะเป็น ลวดลายดั ้งเดิมโดยตรง
การหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ของสถาปนิก เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่งานออกแบบในหลายๆ มิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่าง
สม่ำเสมอในวงการ Architectural Design แต่สิ่งสําคัญที่สุดที่สถาปนิกไม่อาจลืมได้ในงานออกแบบบ้าน หรือ
เรือน หรือเฮือน คือ ‘ความเข้าใจผู้อยู่’
ออกแบบ สถาปนิกอยากสะท้อนกลิ่นอายของเรือนไทยจากการนําาเอาดีเทลการเข้าลิ้นของโครงสร้างไม้ แปลง มา
เป็นดีเทลตกแต่งอาคารบางส่วนแทน ทําาให้เกิด Pattern Design ใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาอีกสิ่งหนึ่ง
แทนที่จะเป็น ลวดลายดั ้งเดิมโดยตรง
การหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ของสถาปนิก เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่งานออกแบบในหลายๆ มิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่าง
สม่ำเสมอในวงการ Architectural Design แต่สิ่งสําคัญที่สุดที่สถาปนิกไม่อาจลืมได้ในงานออกแบบบ้าน หรือ
เรือน หรือเฮือน คือ ‘ความเข้าใจผู้อยู่’
Content:
Thaweesak Watthanawareekun
(Founder of Yan Architects)
















